วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนสัแดห์ที่1

วันนี้ได้ทำบล็อกเป็นครั้งที่ 2 ค่ะ เกือบจำรหัสผ่านไม่ได้แน่ะ นานเหลือเกิน อาจาย์ให้หาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตอนแรกคิดว่าอาจารย์จะให้ทำในhi5 แต่มีเพื่อนบอกข้อดีของบล็อก ก็เลยได้ทำในบล็อกค่ะ ทำไปทำมาเกิดอาการงงนิดหน่อยแต่ก็สนุกดีค่ะ

สรุปการเรียนสัแดห์ที่2

วันนี้เรียนเป็นวันที่ 2 ของเทอมนี้ ในวิชา คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ จ๋า บอกให้หาเพลง หรือแต่งเพลง แต่งนิทาน แล้วให้นำไปลงบล็อกและทำบล็อกเพิ่มเติม

สรุปการเรียนสัแดห์ที่3

วันนี้อาจารย์สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า เป็นของใกล้ตัว เป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้เป็นกระบวนการได้โดยที่บุรณาการผ่านเรื่องใกล้ตัวต่างๆเช่น การตวง การนับหรือแม้แต่การวัด เป็นต้น คณิตศาสตร์ไม่ได้แต่เป็นการที่จะให้เด็กบวกเลขเพียงอย่างเดียวแต่จะให้เด็กสามมารถเปรีบยเทียบ และรู้จักขนาด และสี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งของใกล้ตัว ที่เด็กพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนต่อไป

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่4

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับลักษณะหลักสูตรที่ดี คือ1.เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด2.เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์เกี่ยวกัยกิจกรมมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่อง3.แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป4.สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่ออให้ได้คำตอบ5.ส่งเสริมให้เด้กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน7.เปิดให้เด้กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่

วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนหน่วยของแต่ละกลุ่มใส่ใน MindMap ส่งทางเมล์ มี ลักษณะสี รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส ส่วนประกอบ รสชาติ ประโยชน์ โทษ การเก็บรักษาส่งเมล์ให้อาจารย์จ๋า คราวหน้าให็นำเกมมาส่งด้วย6

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่8

วันนี้ส่งเกม แต่อาจารย์ให้เอาไปแก้บ้างส่วนค่ะแล้วให้เพื่อนที่ยังไม่ได้ส่งงานอาจารย์ให้ทำส่งอาจารย์ด้วย

สรุปการเรียนสัแดห์ที่9

วันนี้อาจารย์อธิบายวิธีการสอนของแต่ละวันสอนในหน่วยเสริมประสบการณ์ ว่าต้องมีอะไรบ้าง จะสอนเด็กในแต่ละหน่วยของแต่ละกลุ่ม การสอนของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เด็กได้สาระอะไรในการสอนบ้าง การสอนแบบใช้คำถามปลายเปิด ในการสอนควรมี การเตรียมความพร้อม วางแบบแผน เตรียมอุปกรณ์ในการสอนให้เหมาะสม

ขอบข่ายกิจกรรมแอปเปิ้ล

ขอบข่ายกิจกรรมแอปเปิ้ล
1. การนับ(counting)
- ให้เด็กนับจำนวนแอปเปิ้ล
- ให้เด็กนับราคาของแอปเปิ้ล
2. ตัวเลข(Numeration)
- ให้เด็กหยิบตัวเลขที่จะซื้อแอปเปิ้ล
3. จับคู่(Matching)
- ให้เด็กจับคู่สีของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่ขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่จำนวนของแอปเปิ้ล
4. การจัดประเภท(Classification)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลที่มีสีเดียวกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กแยกจำนวนของแอปเปิ้ล
5. การเปรียบเทียบ(Comparing)
- ให้เด็กเปรียบเทียบแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็ก
- ใหญ่
6. การจัดลำดับ(Ordering)
- ให้เด็กเรียงลำดับรูปภาพขนาดของแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็กที่สุด ไปหาแอปเปิ้ลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
7. รูปทรงและเนื้อที่(Shape and Space)
8. การวัด(Measurement
)- ให้เด็กชั่งน้ำหนักแอปเปิ้ล โดยใช้สองมือเด็กในการประมาณค่าน้ำหนัก ของแอปปเปิ้ลแต่ละลูก
9. เซท(Set)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลสีแดงกับสีเขียว
10. เศษส่วน(Fraction)
- ให้เด็กแบ่งแอปเปิ้ล 1 ลูกเป็น 4 ชิ้นเท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามขนาดที่ครูกำหนด
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามสีที่ครูกำหนด
12. การอนุรักษ์(Conservation)
- ครูถามเด็กว่า แอปเปิ้ล 1 ลูก ที่นำมาบดละเอียด กับแอปเปิ้ล 1 ลูก ที่ไม่ได้บด มีปริมาณเท่ากันหรือไม่อย่างไร

แผนการสอน

แผนการสอน หน่วยแอปเปี้ล
(วันที่1)
กิจกรรม รู้เรื่องแอปเปิ้ลกันเถอะ
ผู้สอน นางสาวสายใจ อาชีวะ
จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กบอกชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ลได้
สาระสำคัญ
เด็กได้เปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล
เนื้อหา
การเรียนรู้เรื่องชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำปริศนาคำทายมาทายเด็กๆ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ผลไม้อะไรที่สโนไวท์ชอบทาน?
ขั้นสอน
2. ครูนำแอปเปิ้ลใส่ตระกร้า แล้วให้เด็กๆทายว่า อะไรอยู่ในตระกร้า
3. ครูเปิดผ้าคลุมออก แล้วให้เด็กนับแอปเปิ้ลในตะกร้า
4. ครูให้เด็กแยกสีแอปเปิ้ลและเปรียบเทียบจำนวนแอปเปิ้ล
5. ครูให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของแอปเปิ้ล
6. ครูให้เด็กเรียงลำดับขนาดของแอปเปิ้ล
ขั้นสรุป
ครูและเด็กสนทนาและเปรียบเทียบลักษณะของแอปเปิ้ล
สื่อ
แอปเปิ้ล
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการร่วมกิจกรรม
(วันที่ 2 )

ชื่อกิจกรรม ส่วนประกอบของแอปเปิ้ล

ผู้สอน นางสาวกนกวรรณ ไข่ติยากุล

จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของแอปเปิ้ลสาระสำคัญเด็กรู้ส่วนประกอบต่างๆของแอปเปิ้ลเนื้อหา
การเรียนรู้ส่วนต่างๆของแอปเปิ้ล เปลือก เนี้อ เมล็ด
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงและทำท่าประกอบเพลง แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม
ขั้นสอน
2. ครูใช้คำถามถามเด็กดังนี้
- เด็กๆค่ะแอปเปิ้ลที่ครูนำมามีกี่สีค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีสีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลทั้งสองสีเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ
- เด็กๆคิดว่าแอปเปิ้ลมีรสชาติอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆจะให้ครูผ่าแอปเปิ้ลกี่ครั้งค่ะ
- เด็กๆจะแบ่งแอปเปิ้ลเป็นกี่ชิ้นดีค่ะ
3. ครูให้เด็กทานแอปเปิ้ลโดยที่ครูแบ่งให้เด็ก
ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับส่วนประกอบและรสชาติของแอปเปิ้ล
สื่อ
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. แอปเปิ้ล
3. เคียง
4. มีด
5. จาน
6. ช้อน ส้อม
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น
(วันที่ 3)

กิจกรรม แอปเปิ้ลมาจากไหน

ผู้สอน นางสาวสุวารี หอมรองบน

จุดประสงค์
1. ร่วมสนทนาและตอบคำถามกับครูได้
2. รู้จักที่มาของแอปเปิ้ลได้
3. รู้จัก จำนวนบวก ลบเลขอย่างง่ายได้
สาระสำคัญ
เด็กรู้ที่มาของแอปเปิ้ล

เนื้อหา
การเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ แอปเปิ้ลมีการแพร่พันธุ์โดยต้องอาศัยสิ่งต่างๆ พาไป ได้แก่ มนุษย์ ใช้วิธีการตอนกิ่ง เมล็ด จากตรงกลางของแอปเปิ้ลมีเมล็ดเอามาปลูก แมลง จากดอกแอปเปิ้ลต้องอาศัยผึ้งและแมลงในการช่วยผสมเกสรต้นแอปเปิ้ลเป็นพืชล้มลุก ต้นแอปเปิ้ลจะออกผลใน 3 – 4 ปี ต้นสูง 5 – 12 เมตร

กิจกรรม

ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
ขั้นสอน
2. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับที่มาของแอปเปิ้ล โดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆเคยเห็นแอปเปิ้ลที่ไหนบ้างค่ะ
- ถ้าเด็กๆไปตลาดเด็กๆอยากได้แอปเปิ้ลเด็กๆจะทำอย่างไรค่ะ
- ถ้าเด็กมีเงิน 3 บาท แอปเปิ้ลลูกละ 5 บาท เด็กๆจะต้องเพิ่มเงินเท่าไรค่ะ
3. ครูนำภาพแอปเปิ้ลมาอธิบายให้เด็กฟัง
ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กร่วมกันสรุปการเจริญเติบโตของแอปเปิ้ลและร่วมกันท่องคำคล้องจอง
5. ครูแลเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ของแอปเปิ้ล
สื่อ
1. คำคล้องจ้อง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
2. รูปภาพแอปเปิ้ล
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น

คำคล้องจอง

แม่ค้าแอปเปิ้ลแม่ค้า
แม่ค้า แอปเปิ้ล ซื้อ หนึ่ง สอง สาม
ราคาเท่าไร ขอซื้ออีกที
สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
แอปเปิ้ลกลิ้งตก รีบเก็บไว ไว
(วันที่ 4)

กิจกรรม น้ำแอปเปิ้ลปั่น

ผู้สอน นางสาวเพลินพิศ มั่งมูล

จุดประสงค์
1. ร่วมทำกิจกรรมกับครูและเพื่อน ๆ ได้
2. ร่วมสนทนากับครูและผู้อื่นได้
3. บอกรสชาติของน้ำแอปเปิ้ลปั่นได้
สาระสำคัญ
แอปเปิ้ลคือผลไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้แอปเปิ้ลนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เครื่องดื่ม และขนม
เนื้อหา
เด็กได้เรียนรู้การทำน้ำผลไม้ปั่นจากลูกแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองแอปเปิ้ล
ขั้นสอน
2. นำแอปเปิ้ลของจริงสนทนากับเด็ก
3. นำแอปเปิ้ลสีเขียวกับแอปเปิ้ล สีแดงมาสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กจะเลือกแอปเปิ้ลสีอะไรทำน้ำปั่นดีค่ะ
- ทำไมเอาสีนี้ค่ะ
- ให้ครูใส่แอปเปิ้ลกี่ชิ้นดีค่ะ
- น้ำเชื่อมกี่ช้อนดีค่ะ
- น้ำแข็งกี่แก้วดีค่ะ
- เกลือเท่าไรดีค่ะ
- จะกดเครื่องปั่นกี่ครั้งค่ะ
ขั้นสรุป
4. เด็กสามารถบอกปริมาณของส่วนประสมได้
5. เด็กสามารถบอกรสชาติของน้ำแอเปิ้ลได้
6. ครูและเด็กร่วมกันตั้งชื่อน้ำปั่น
สื่อ
1. เครื่องปั่นผลไม้
2. แอปเปิ้ล
3. มีด
4. เขียง
5. น้ำแข็ง
6. แก้วน้ำ
7. หลอด
8. น้ำหวาน
การประเมินผล
1. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
2. สังเกตการณ์ตอบคำถาม
3. สังเกตการแสดงความคิดเห็น